พะเยา  ท้องถิ่นใช้สัญญาเช่ารถโดยสารสาธารณะในการเดินทางปลอดภัยต่อเนื่อง

วันที่  31 ก.ค. 63 .   ที่ห้องประชุมนภาลัย โรงแรมวีชี   โดยนายชนก   มากพันธุ์ ปลัดจังหวัดพะเยา และคณะทำงานพัฒนารถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนจังหวัดพะเยา  ร่วมกับท้องถิ่นจังหวัดพะเยา และผู้บริหารท้องถิ่น 72 แห่ง  ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สัญญาเช่ารถ โดยกำหนดให้การใช้สัญญาเช่าเป็นมาตรฐานแนวปฏิบัติขององค์กร เพื่อนำไปสู่การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารแบบเช่าเหมา

จากสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากรถโดยสารสาธารณะ ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตมากถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยทุก ๆ 2 ชั่วโมงในทุกวัน จะมีคนไทย 2 คน ต้องเสียชีวิตเพราะอุบัติภัยบนท้องถนน ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวผู้ประสบเหตุ และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจหลายแสนล้านบาทซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความจำเป็น ต้องใช้บริการรถโดยสารแบบเช่าเหมา ในการจัดประชุม สัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยที่ผ่านมาพบว่าในการเลือกเช่าเหมาบริการรถตู้ หรือรถโดยสารสาธารณะนั้น ส่วนใหญ่มีการคัดเลือกผู้ให้บริการจากสภาพรถ เช่น รถดูใหม่ บริการดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถพร้อม ซึ่งนอกจากองค์ประกอบดังกล่าว ยังมีส่วนสำคัญอื่นที่ต้องพิจารณาเพิ่ม เช่น ผู้ประกอบการว่าเป็นนิติบุคคลหรือไม่ คนขับรถว่ามีประสบการณ์หรือไม่ สภาพรถที่มีการตรวจจากขนส่ง รวมถึงความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกัน เช่นค้อนทุบกระจก เข็มขัดนิรภัย ประตูฉุกเฉิน และการดูประกันภัย รวมถึงการชดเชยหากผู้ประกอบการผิดข้อตกลงโดยข้อมูลดังกล่าว ได้ถูกระบุไว้ในสัญญาเช่า

น.ส.พวงทอง ว่องไว (เลขาคณะทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพรถโดยสาร และรถนักเรียนจังหวัดพะเยา) กล่าวว่า “ที่ผ่านมาคณะทำงานพัฒนาคุณภาพรถโดยสารและรถนักเรียนจังหวัดพะเยา ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. และคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด (สอจร.) ได้สนับสนุนการนำสัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา (สัญญาเช่ารถ) มาเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกรถ โดยหัวใจสำคัญคือ หากเลือกรถที่มีคุณภาพและมาตรฐาน การเดินทางไป-กลับจะปลอดภัย นอกจากการเลือกรถจากสภาพภายนอกแล้ว การพิจารณาเรื่องเงื่อนไขการชดเชยเยียวยาหากเกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินก็มีความสำคัญเช่นกัน”

 

 

“ดังนั้นการใช้สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสารเป็นเครื่องมือ ผู้ว่าจ้างก็จะสามารถเลือกรถที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน โดยพิจารณาตั้งแต่ ผู้ประกอบการว่าเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ประสบการณ์ของพนักงานขับรถ สภาพรถที่มีการตรวจรับรองจากหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก รวมถึงความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยภายในรถ เช่น ค้อนทุบกระจก เข็มขัดนิรภัย ประตูฉุกเฉิน และการตรวจสอบเงื่อนไขการประกันภัย และการชดเชยเยียวยาหากผู้ประกอบการผิดข้อตกลงในสัญญาโดยตลอดการดำเนินงาน ในปี 2561 – 2563 พบว่า หน่วยงานท้องถิ่นแต่ละแห่งได้ให้ความสำคัญกับการใช้สัญญาเช่ารถในการทำสัญญาทุกครั้ง สิ่งสำคัญพบว่า หลังจากใช้สัญญาเช่ารถ ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดประสบอุบัติเหตุจากการเดินทาง” จากบทเรียนดังกล่าวจะได้นำไปสู่การขยายผลให้เป็นนโยบายเพื่อสร้างมาตรการให้การป้องกันอุบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ ( เลือกรถที่มีมาตรฐาน = ความปลอดภัยในการเดินทาง)

 

พะเยามูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาโรงแรมวีชี